สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

ไนตรัสออกไซด์

ไนตรัสออกไซด์


ไนตรัส อ็อกไซด์ (NITROUS OXIDE) หลายท่านคงได้ยินได้ฟังเรื่องราวของการยิงแก๊สไนตรัส
กับการแข่งขันรถยนต์แบบควอเตอร์ไมล์ (402 เมตร) เรายิงไนตรัสเข้าไปทำไม  ฉีดบริเวณไหน?
แล้วมันให้ผลอย่างไรต่อเครื่องยนต์ถึงผลิตแรงม้าที่รอบสูงๆเพิ่มขึ้นได้อีกมากมาย

ปัญหาของเครื่องยนต์ที่ทำแรงม้าได้ไม่เต็มที่
ช่วงที่ลูกเร่งยกสุดหรือเปิดสุดทำความเร็วสูงสุดช่วงนี้   
ลูกสูบจะดูดอากาศเข้าไปในกระบอกด้วยความเร็วในการชักรวดเร็วมาก 
จนไอดีจากคาร์บูเรเตอร์ไหลเข้าไปไม่ทัน
การที่จะทำให้อากาศกับไอดีไหลเข้าไปในกระบอกสูบ
ตั้งแต่ศูนย์ตายบนจนถึงศูนย์ตายล่างให้เต็มกระบอกเป็นไปได้ยากมาก
เพราะมันเร็วจริงๆ ต่อให้ใช้แคมชาร์ฟระยะยกมากๆ 
ช่วยให้วาล์วไอดีปิดช้าลง เพื่อชดเชยแล้วก็ตาม  แต่มันก็มีปัญหาอยู่
ทำให้ประสิทธิภาพการอัดแย่ลงไป   เครื่องยนต์จะลดประสิทธิภาพลงไปมาก 
ช่วงนี้ไม่มีแรงม้าเพิ่มขึ้นเท่าไร
     
เมื่อความเร็วสูงสุด  แต่อยากวิ่งต่อให้เร็วขึ้น  วิศวกรผู้รู้โครงสร้างของเครื่องยนต์
ก็จับประเด็นว่าทำอย่างไรประสิทธิภาพในการอัดตัวจะดีขึ้น  โดยที่ลูกสูบยังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากอยู่
พื้นฐานของอากาศที่เราหายใจกันอยู่นี้  สูบเข้าไปฟืดในบอดคนเราจะมีไนโตรเจน 72% ออกซิเจน 28%  รวมเป็น 100%
ฉะนั้นใน 1 ครั้งของการอัดบนฝาสูบ  จะประกอบไปด้วยไนโตรเจน+ออกซิเจน+เบนซิน
ในสัดส่วน 14.7:1 ตามที่คุ้นเคยกันอยู่ ฉะนั้นถ้าเราจะเพิ่ม 3 ตัวที่ว่านี้ทำอย่างไร?

N2O เรียกว่า “แก๊สไนตรัส” ในเคมีตัวนี้มี N2 คือ ไนโตรเจน และ O คือ ออกซิเจน เมื่อการ
อัดตัวของลูกสูบแต่ละครั้งดูดเองไม่ทัน เราก็เอาแก๊สไนตรัสฉีดช่วยเข้าไปนิดหน่อย  ตัวมันเองจะไประเบิดขยาย
ตัวเองออกมากมายหลายเท่าจนอิ่มตัวเต็มกระบอกสูบ มันจึงทำหน้าที่ เพิ่มการอัดตัวให้มีประสิทธิภาพการอัดดีขึ้น
และมันยังแฝงออกซิเจนไปเพิ่มอีกที่รอบสูงๆ  การบ้านของนักแมคคานิก นักโมดิฟายน้ำมันเชื้อเพลิง ก็คือ ไปหา
ไนโตรเจนและออกซิเจนที่อยู่รวมกันกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ได้ ก็จะไปพบเคมี “ ไนตรัสออกไซด์” เข้า
เขาจึงนำตัวนี้มาฉีดพ่นเสริมเข้าที่ คาร์บูเรเตอร์ ให้ไหลไปพร้อมๆ กับไอดี ที่หมดประสิทธิภาพการไหลเข้าด้วยตัวเอง

สรุป ไนตรัสเปรียบเสมือนผู้วิเศษคอยช่วยชดเชยหรือเติมเต็มอาการด้อยของ เครื่องยนต์ที่รอบสูงครับ

การติดตั้งมี 2 แบบ
1. ระบบ dry systems
เป็นระบบการยิงก๊าซอย่างเดียวเข้าห้องเผาไหม้
พวกนี้ต้องอาศัยการปรับแต่งคาบู หรือกล่องให้เพิ่มน้ำมันเข้าไป สังเกตหัวฉีดก๊าซจะเป็นหัวเดียว
2. ระบบ wet systems เป็นระบบการยิงก๊าซพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิงโดยอาศัยปั้ มน้ำมันต่อพ่วงมายังโซลินอย
หรือบางคนใช้ยิงร่วมกับแอลกอฮอล์ หรือน้ำมันออกเทนสูง พวกนี้ต้องมีถังแยกต่างหาก
แบบนี้สังเกตุว่าหัวฉีดก๊าซจะมีทางเข้าสองทาง การติดตั้งมีสองแบบคือฝังหัวเดียว
มักจะฝังบริเวณก่อนทางเข้าลิ้นปีกผีเสื้อ หรือในหม้อกรองอากาศ
แต่จะฝังให้ห่างจากลิ้นปีกผีเสื้อมากพอควรเพื่อป้องก ันไหลของก๊าซไหลเข้าได้ไม่เท่ากันทุกสูป
แบบนี้มักจะสร้างความเสียหายให้กับสูปแรกที่ติดกับลิ ้นปีกผีเสื้อเพราะก๊าซมีโอกาสไหลเข้า
ได้มากกว่า และแบบฝังบนคอไอดีแยกกันแบบหัวละสูป แบบนี้จะทำให้ก๊าซไหลเท่ากันทุกสูป
ลดการเสียหายได้

การยิงก๊าซ
ถังก๊าซไนตรัสขนาด 10 ปอนด์ จะมีการสิ้นเปลืองอยู่ที่ 3 - 5 นาทีต่อถังหมดแล้วสามารถเติมได้
บนถังมีวาวล์นิรภัยในการปล่อยก๊าซส่วนเกินหรือเกิดกา รกระแทก มีเกจ์วัดแรงดันในตัว
เพื่อบอกปริมาณก๊าซ ท่อก๊าซต่อผ่านมายังโซลินอยล์สวิทช์ เพื่อคอยรับคำสั่งการเปิด – ปิดสวิทช
์ภายในรถ ในการแข่งขันโซลินอยล์สวิทช์มักรับคำสั่งมาจากกล่องค อมพิวเตอร์
์เพื่อให้การยิงก๊าซเป็นไปอย่างอัตโนมัติ หัวฉีดก๊าซมีให้เลือกว่า จะใช้กี่ซีซี และเพิ่มได้กี่แรงม้า
การยิงก๊าซต้องจำกัดเวลาในการยิง มิฉะนั้นความร้อนในห้องเครื่องอาจเพิ่มสูงจนเสียหายไ ด้
เหมาะในการแข่งขันระยะสั้น

ข้อดี
เพิ่มอัตราเร่งให้กับเครื่องยนต์ได้อย่างมาก เพิ่มแรงม้าให้กับเครื่องยนต์ บนถนนช่วยในการเร่งแซง
ในสนามแข่งสามารถลดเวลาการแข่งขัน เป็นที่นิยมกันของนักแข่ง dragracing

ข้อควรระวัง
ไนตรัสไม่สามารถยิงติดต่อได้นาน เพราะความร้อนจะสูงเครื่องอาจพัง เครื่องยนต์มีการสึกหรอ
อย่างรวดเร็ว เครื่องยนต์ที่ติดตั้งส่วนใหญ่แล้วมักจะมีการดัดแปลง
เช่น เปลี่ยนลูกสูป ข้อเหวี่ยงที่มีความทนทานขึ้น ไม่เหมาะกับรถทั่วๆไป เป็นก๊าซอันตรายมากถ้าเกิดการรั่ว
แล้วสูดดมอาจหมดสติได้ ปกติจะใช้ในวงการแพทย์ ช่วยในการวางยาสลบคนไข้

ที่มา : http://www.alfathailand.com/forum/index.php?topic=1626.0

Tags : ไนตรัสออกไซค์ ฉีดตรัส หลักการทำงาน เพิ่มความแรง การใช้ การติดตั้ง

view