สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

ล้อแม็ก

ล้อแม็ก

 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับล้อแม็ก



ทำไมถึงเรียกว่า ล้อแม็ก


ในอดีตกาล กะทะล้อ ถูกผลิตขึ้นมาด้วยวัสดุที่ทำจาก แม็กนิเซียม (Magnisium) ด้วยคุณสมบัติหลักคือน้ำหนักที่เบา ระบายความร้อนได้ดี รูปแบบสวยงาม
จึงนำมาใช้กับรถที่ต้องการทำความเร็ว หรือรถแข่งนั่นเอง แต่จากข้อด้อยในส่วนของต้นทุนที่ราคาสูง และ แม็กนิเซียม มีการสึกกร่อนได้ง่าย
จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับรถยนต์ในท้องตลาด จึงได้มีการเสาะหาวัสดุมาทดแทนที่ราคาไม่สูง แต่ยังคงคุณสมบัติที่ใกล้เคียง
นั่นก็คือ อลูมิเนียม อัลลอย (Aluminium Alloy ) ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่บุคคลทั่วไปยังคงเรียกติดปากว่า ล้อแม็ก (มาจากแม็กนิเซียม) กันอยู่ตลอดไป

 

ชื่อเรียกจุดต่างๆ ของล้อ

คำศัพท์ ที่ใช้เรียกจุดต่างๆ ภายในล้อแม็ก

1.Rim Width
2.Wheel Diameter
3.Center Bore
4.PCD
5.Offset
6.Brake Pad Seat
7.Bolt Hole Diameter
8.Center Line
9.Flange
10.Rim Contour
11.Beat Seat
12.Valve Hole
13.Mounting Surface Diameter

 

ออฟเซ็ต Offset คืออะไร

ออฟเซ็ต (Offset,ET) คือ ค่าระยะห่าง ระหว่าง เส้นแบ่งครึ่งล้อ ตามแนวขวาง กับ หน้าแปลนของล้อ (Hub Mounting Surface) โดยมีหน่วยเป็น มิลลิเมตร 

ค่า Offset ส่งผลอะไรกับรถของเรา ? ค่า Offset จะส่งผลโดยตรงกับระยะหรือตำแหน่งของล้อ ว่าจะยื่นออก หรือ หุบเข้า ไปในตัวรถของท่าน ดังนั้น การเลือกล้อที่มีค่า Offset ที่ถูกต้องเหมาะสมจึงมีความจำเป็น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยทีเดียว


ดูค่า offset ของ ล้อแม็กซ์ ที่ถามเข้ามาบ่อยๆ

ค่า Offset ของล้อ ที่เราจะพูดถึง โดยปกติระบุเป็น 3 ค่าด้วยกันคือ



1.ค่าออฟเซ็ต เท่ากับศูนย์ Zero Offset (0)

คือ ค่าระยะห่างของ หน้าแปลนล้อ ( Hub Mounting Surface ) ตรงกับ เส้นแบ่งครึ่งของ ล้อตามแนวขวางของล้อพอดี

ระกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น 2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถ เก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถ ยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

2. ค่า ออฟเซ็ต เป็นบวก Positive (+)

คือ ระยะห่างของเส้นแบ่งครึ่งล้อวัดไปถึงหน้าแปลนล้อโดยมีทิศทางไปนอกตัวรถ วัดได้เป็นระยะเท่าไรนั้นถือค่าเป็นบวก(+)  เช่น +20, +30, +38, +45 เป็นต้น ซึ่งมักพบกับล้อที่ใช้กับรถขับเคลื่อนล้อหน้าเสียส่วนใหญ่

ระกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น 2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถ เก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถ ยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

3. ค่าออฟเซ็ต เป็นลบ Negative (-)



คือ ระยะห่างของเส้นแบ่งครึ่งล้อวัดไปถึงหน้าแปลนล้อ หรือพูดง่ายๆ ว่าหน้าแปลนของล้อมีระยะเกินเส้นแบ่งครึ่งล้อไปในทิศทางเข้าในตัวรถ 
วัดได้เป็นระยะเท่าไรนั้นถือค่าเป็น (-) เช่น -5, -10, -20 เป็นต้น  ซึ่งรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลังมักกำหนดให้ใช้ล้อแม็กที่มีค่าออฟเซ็ตเป็นลบ หรือก็บวกไม่มาก

เรื่องนี้หากมีการเลือกค่า offset ที่ไม่ตรงกับรถนั้นๆ ก็จะมีผลกระทบตามมาเช่นกัน หรือหากมีการเปลี่ยนขนาดความกว้างของล้อ 
ค่า Offset ก็เปลี่ยนไปด้วย  ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาหรือรู้ถึงค่า Offset สำหรับรถของท่านควรมีตัวเลขอยู่ที่เท่าไร เพื่อจะได้ไม่สร้างปัญหาให้แก่ตัวรถ




การดูค่า offset  ล้อแม็ก ของเราด้วยตนเอง

โดยปกติ ล้อแม็ก ส่วนใหญ่  จะมีตัวเลขบ่งบอกไว้ที่ตัวล้อเองเลย ซึ่งเรามักสังเกตุเห็น ตัวเลขที่มักจะตามตัวอักษร เช่น "ET 38" ก็หมายถึง offsET 38 นั่นเอง หรือบางที ก็อาจมีเฉพาะตัวเลขลอยๆ ไม่มีตัวอักษรนำหน้าก็มี เช่น "45" ก็หมายถึง Offset = 45 เหมือนกัน ดูตัวอย่าง ที่รูปภาพด้านล่าง


 

ตัวอักษรบนล้อแม็กบอกอะไร

เครื่องหมายมาตรฐาน ที่อยู่บนล้อ

JWL  = Japan Wheel Light Metal (เป็นเครื่องมาตรฐานสำหรับล้อรถเก๋ง ซึ่งออกโดยกระทรวงคมนาคม ของประเทศ ญี่ปุ่น)

JWL-T  = Japan Wheel Light Metal for Truck (เป็นเครื่องมาตรฐานสำหรับล้อรถบรรทุกเล็ก ซึ่งออกโดยกระทรวงคมนาคม ของประเทศ ญี่ปุ่น)

VIA = Vehicle Inspection Association (เป็นเครื่องมาตรฐาน จากสมาคมทดสอบยานยนต์ ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งโรงงานผู้ผลิตล้อ จะต้องผ่านการตรวจสอบ จากสมาคมนี้ก่อน จึงจะสามารถนำอักษรนี้ มาลงได้)


เครื่องหมายทั่วไป

ET = สัญญาลักษณ์ย่อของค่า Offset
H2 = Double Hump (Round)

 

ระยะ พี.ซี.ดี (P.C.D)


P.C.D. ย่อมาจาก PITCH CIRCLE DIAMETER หมายถึง ระยะห่างของรูน๊อตบนตัว ล้อแม็กซ์ โดยวัดจากกึ่งกลางรูน๊อตทุกตัวลากเส้นเป็นวงกลม
แล้ววัดผ่าน เส้นผ่าศูนย์กลาง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ถ้าเป็นจำนวนเลขคู่ 4 หรือ 6 รูน๊อตต่อ 1 ล้อ ก็สามารถวัดจากกึ่งกลางรูน๊อตด้านหนึ่งไปยังด้านตรงข้ามได้เลย
แต่ถ้าเป็นจำนวนเลขคี่ 3 หรือ 5 รูน๊อต ต้องวัดจากแนววงกลมกึ่งกลางรูน๊อตผ่านเส้นผ่าศูนย์กลาง
รถยนต์ขนาดเล็กมักมี 4 รูน๊อตต่อ 1 ล้อ และรถยนต์ขนาดใหญ่ขึ้นไปมักมี 5 - 6 รูน๊อต เพื่อความแน่นหนาในการยึดล้อเข้ากับดุมล้อ
มีหลายคน มักสงสัยว่าทำไมรูน๊อตที่ใช้ยึด ล้อแม็ก เข้ากับดุมล้อ ถึงได้มีค่า PCD แตกต่างกันออกไป

ในอดีตที่ผ่านมา
ก็มีผู้ผลิตรถยนต์ หลายค่ายทั้งเอเชีย, ยุโรป หรือ อเมริกา เองก็ดี ได้ทำการคิดค้นและออกแบบแตกต่างกันออกไป ตามแต่ความคิดอ่าน ของแต่ละค่าย ซึ่งสันนิษฐานว่าในอดีตกาล เขาใช้หน่วยเป็นนิ้ว แต่ต่อมา ในบางประเทศที่คุ้นเคยกับระบบเมตริก ก็มักใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตรแทน จึงมีการเรียกแตกต่างกันไป แต่จริงแล้ว ค่าของ PCD ก็มีที่มาจากที่เดียวกันนั่นเอง




การวัดระยะ PCD ด้วยตนเอง

หากเราต้องการทราบว่า ล้อแม็ก ของเรานั้น มีระยะ PCD เท่าไร ? เราสามารถวัดได้ด้วยวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้
ก่อนอื่นก็ต้องมี อุปกรณ์ ที่ต้องใช้วัด เช่น ไม้บรรทัด หรือ ตลับเมตร ก็ได้เช่นกัน



ล้อ 4 รู / 8 รู

การวัดสามารถวัดโดย วัดที่หน้าแปลนของ ดุมล้อ ด้านหลัง โดยทาบไม้บรรทัด จากจุด (A) ไปถึงจุด (B) ดูระยะว่าเป็นเท่าไร  เช่น อ่านค่าได้เท่ากับ 100 มม.  นั่นก็คือระยะ PCD ของ ล้อแม็กซ์ วงนั้น นั่นเอง



ล้อ 5 รู / 10 รู

การวัดสำหรับ ล้อแม็ก ที่มี 5 รู หรือ 10 รู นั้น ต้องมีการคำนวนเล็กน้อย

(A) คือ ระยะของเส้นผ่าศูนย์กลาง  ของรูดุมล้อ Center Bore
(B) คือระยะระจากขอบรู ดุมล้อ กับขอบรูยึดน๊อต
(C) คือ ระยะของเส้นผ่าศูนย์กลาง ของรูยึดน๊อต
สูตรการคิด    ระยะ PCD = ( A หาร 2 ) + B + ( C หาร 2 )
ตัวอย่าง 
A = 110, B = 58.5 และ C = 13
( 55 ) + (58.5) + ( 6.5 )
รวมแล้ว = 120 ดังนั้นตัวเลขที่ได้ก็คือ ค่า PCD นั่นเอง

* หรืออาจใช้สูตร A+(2B)+C แทนก็ได้

 

ล้อ 6 รู

การวัดสำหรับ ล้อแม็ก 6 รู จะคล้ายกับ 4 รู โดยวัดในแนวเส้นตรงจากขอบด้านในของรูยึดน๊อต ตรงมายังขอบด้านนอกของรูยึดน๊อตฝังตรงข้าม ผ่านรู ดุมล้อ 
ทำการวัดจากจุด (A) มายังจุด (B) อ่านค่าได้เท่าไร ก็คือ ค่า PCD นั้นเอง

ประเภทของ ล้อแม็กซ์

ชนิดหรือประเภทของ ล้อแม็กซ์ โดยดูจากโครงสร้างหรือรูปทรง ซึ่งได้จำแนก ล้อแม็ก ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
ล้อแม็ก แบบชิ้นเดียว (1 Piece Wheel) เป็นล้อที่มี Rim กับ Disk ถูกสร้างขึ้นมาเป็นชิ้นเดียว



ล้อแม็ก แบบประกอบ ( Assembly Wheel )

เป็นล้อที่มี Rim กับ Disk มาประกอบกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

1) ล้อแม็ก 2 ชิ้น ( 2 piece Wheel ) เป็นล้อที่มี 2 ชิ้นส่วนมาประกอบกันคือ Rim กับ Disk



2) ล้อแม็ก 3 ชิ้น ( 3 pieces Wheel ) เป็นล้อที่ประกอบเชื่อมส่วนที่เป็น Rim 2 ส่วน กับ Disk เข้าด้วยกัน 



3)  ล้อแม็ก ชนิดซี่ลวด ( Wire Wheel ) คล้ายล้อของจักรยาน



 

วิธีเลือก ล้อแม็กซ์ มาใช้

คำถามที่คนส่วนใหญ่ มักมีข้อสงสัย และ ซักถามเข้ามาเป็นประจำ ก็คือ ...

ล้อแม็ก ควรใช้ขนาดไหนดี แล้วหากอยากเปลี่ยนให้ใหญ่ขึ้น จะมีผลอะไรหรือไม่  เช่นเดิมขอบ 15 นิ้ว จะเปลี่ยนเป็นขอบ 16 , 17 นิ้ว
จะส่งผลอะไร บ้าง จะเลือกแบบล้อ หรือ ลวดลาย แบบไหนดี สีล้อแม็ก ควรเลือกแบบไหน ถึงจะสวย

อันนี้ก็อยากแนะนำ โดยภาพรวมมากกว่า  เพราะการที่จะเปลี่ยน ล้อแม็ก วงใหม่นั้น มันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ หลายประการ เช่น

ล้อขนาดเดิมที่ติดมากับรถ โดยมากเจ้าของมักจะมองว่าเล็กไป ทำให้ดูไม่สวย อันนี้ก็มีส่วนแต่ไม่ทั้งหมด เพราะสิ่งที่ต้องคำนึงถึง
ก็คือขนาดล้อ และยาง จะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกเลยทีเดียว เช่น ล้อเล็ก ซีรี่ย์ยางก็จะหนา  หากต้องการ ล้อแม็ก ที่ใหญ่ขึ้น
ซีรี่ย์ยางก็จะบางลง เพื่อรักษาระดับเส้นผ่าศูนย์กลางหรือพูดง่ายๆ ก็คือ ต้องรักษาระดับความสูงให้ใกล้เคียงกับ ค่ามาตรฐานของรถรุ่นนั้นๆ มากที่สุด
ดังนั้นผลที่จะต้องได้รับก็คือ ความนุ่มนวลที่อาจลดลง อันนี้ก็เป็นสัจธรรม ทำนอง "ได้อย่าง อาจต้องเสียอีกอย่าง "
รูปแบบ ลวดลาย อันนี้ก็ตอบยาก เพราะนานาจิตตัง ล้อแบบเดียวกัน เราอาจชอบ แต่คนอื่นอาจไม่ชอบ อันนี้เท่าที่ได้มีประสบการณ์มา
วัยรุ่น  คนวัยทำงาน  ผู้ใหญ่  ผู้ชาย  ผู้หญิง ก็ชอบไม่เหมือนกันเลย เอาเป็นว่าให้มองแล้วเราชอบ  ต่อจากนั้นก็มามองเรื่องการนำไปใช้งานให้ถูกต้อง

สีสํน ก็คล้ายคำตอบข้อ 2 คือ การมองที่ไม่เหมือนกัน เกิดจากความแตกต่างของแต่ละคน แต่ข้อนี้อาจให้ผู้มีประสบการณ์ช่วยแนะได้
หรือลองเอา ล้อแม็ก ไปทาบที่รถของเราเลย ก็จะพอมองออก  แต่ทั้งนี้ เราก็อยากให้ท่านได้ลองดูองค์ประกอบด้านล่างนี้
เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการเลือก ล้อแม็กซ์ มาใช้ ได้อย่าง คุ้มค่าเงินของท่าน  มีอย่างไรบ้าง เชิญดูด้านล่างนี้ ...

1.) ความเหมาะสม ทางด้านเทคนิค ประการแรก เราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทราบว่า ล้อรถเดิมของเรานั้น มีสเปค ( Specification) อะไร ? เช่น

ขนาดล้อ ...  กี่นิ้ว ?  เช่น 13 นิ้ว , 14 นิ้ว ,  15 นิ้ว  .... 17 นิ้ว  เป็นต้น 
ขอบล้อกว้าง ...  กี่นิ้ว ?  เช่น 5นิ้ว , 5.5 นิ้ว , 6 นิ้ว , 6.5 นิ้ว  ... 9 นิ้ว  เป็นต้น 
จำนวน รู PCD 4 , 5 หรือ 6 รู  ขนาด PCD เป็น เท่าไร ? เช่น 100 , 114.3, 139.7 มม. เป็นต้น 
ค่า ออฟเซ็ต Offset  เป็นเท่าไร ? -10, 0, +15, +35 หรือ 45  เป็นต้น
และสิ่งที่สำคัญที่เราต้องนำมาพิจารณาในการเลือก ล้อแม็กซ์ ต้องดูสิ่งเหล่านี้


รู PCD
- ล้อใหม่ที่เราจะเลือกใช้ ต้องตรงกับสเปคของรถนั้นๆ ไม่ควรดัดแปลง ใดๆ ทั้งสิ้น เพียงเพื่อชอบความสวยงามของ ล้อแม็ก เท่านั้น

รูกลางของดุมล้อ (Hub Diameter )
- รูกลางของ ล้อแม็กซ์ ที่เราจะนำมาใช้ต้องพอดีกันไม่คับหรือหลวมจนเกินไป

การรับน้ำหนัก
- เราต้องเลือก ล้อแม็กซ์ ซึ่งมีความสอดคล้องเหมาะสมกับการใช้งานหรือการบรรทุกน้ำหนัก

การยึดล้อกับดุมล้อ
- ล้อที่เราจะเลือกใช้ รูที่ใช้ยึดเข้ากับตัวหน้าแปลนดุมล้อ ต้องมีสเปคตรงกัน ในแต่ละประเภทที่ได้ถูกออกแบบไว้

ความสัมพันธ์ต่อชิ้นส่วนอื่น
- การเลือกล้อแม็กซ์ ก็ต้องไม่ไปกระทบหรือมีระยะห่าง ที่จะไม่ไปกระทบหรือเกะกะ กับชิ้นส่วนในช่วงล่างอื่นๆ เช่น โช๊ค , ขอบซุ้มล้อ , ปีกนก เป็นต้น


2.) รูปแบบ ความสวย กับ ความแข็งแรง

การเลือกรูปแบบ ให้สอดคล้องต่อการใช้งานและความปลอดภัย

โดยปกติ ล้อทุกประเภท ที่ถูกผลิตจากโรงงานล้อแม็กชั้นนำ ล้อแม็กจะต้องผ่านการทดสอบเรื่องของความแข็งแรงอยู่แล้ว  แต่ทั้งนี้  เราเองก็จำเป็นที่จะต้อง เลือกหาให้เหมาะสมกับการใช้งานกับตัวเราด้วย  เช่นไม่ใช้ ล้อแม็กซ์ ที่ก้านเรียวเล็ก กับรถที่เราต้องบรรทุกหรือวิ่งในเส้นทางที่สภาพถนน ขรุขระ เป็นหลุมบ่อ เพราะอาจจะทำให้ล้อนั้นเกิดการชำรุดเสียหายได้ง่าย

ซึ่งเราได้ยกตัวอย่างรูปแบบของ ล้อแม็กซ์ ตามสไตล์ต่างๆ มาให้เลือกเพื่อเป็นแนวทางต่อการใช้งานดังต่อไปนี้



ประเภท จาน (Disc Type)ลักษณะแบบนี้ ถูกออกแบบเพื่อการแบกรับน้ำหนักโดยเฉพาะ มักพบมากกับรถที่ต้องการบรรทุก หรือ รับน้ำหนักจากสิ่งของ สัมภาระ เป็นต้น



ประเภท ก้านใหญ่ (Spoke Type)
ลักษณะแบบนี้ ก็ทำให้สวยขึ้นกว่าแบบจาน Disc แต่ยังคงความสามารถในการรับน้ำหนักได้ดีพอควร จึงใช้ได้ทุกสภาพถนนปกติ และอาจเป็นรถนั่งขนาดใหญ่หรือซีดาน


ประเภทก้านเล็ก (Fin Type)
ออกแบบให้ดูสวย ก้านเรียวเล็ก โปร่ง จึงดูสวยน่าใส่  แต่ก็เช่นเดียวกัน การแบกรับน้ำหนักย่อมน้อยไปด้วย เหมาะกับการใช้ตามถนนที่เรียบและควรหลีกเลี่ยงสภาพถนนที่เป็นหลุมหรือขั้น ขวางถนน



ประเภท ตาข่าย (Mesh type)
ลักษณะเป็นการผสมผสานกัน ที่ยังคงใช้ก้านที่เล็ก แต่ก็ออกแบบให้มีก้านเพิ่มมากขึ้น เกาะเกี่ยวกันเป็นตาข่าย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงขึ้น แต่มักมีปัญหาในการทำความสะอาด


 

3.) องค์ประกอบอื่นๆ


ราคา ที่เหมาะสม ไม่แพงจนเกินไป
 
รูปแบบต้องสวย เหมาะสม สีสรรต้อง เข้ากันกับรถ มิใช่ซื้อตามกัน เพราะรถแต่ละรุ่น แต่ละสี ความสวยงามก็อาจไม่เหมือนกัน
ลวดลายของล้อ ต้องไม่ยากเกินไป ที่จะทำความสะอาด  เช่น ก้านถี่เกินไป ก้านลายตาข่ายเล็กมาก  ทำให้ มือหรือแปรง เข้าไปไม่ถึง
หากเป็น ล้อแม็กซ์ มือสอง ต้องเลือกที่ซ่อม หรือทำสี มาแล้วอย่างถูกวิธี หรือ ควรเลือกสภาพเดิมๆ แล้วนำมาทำเองจะดีกว่า
เพราะอย่างน้อย เราก็ได้เห็นสภาพที่แท้จริงของล้อนั้น  อย่ามองเพียงสวยภายนอก เท่านั้น

ควรเลือก Brand,  ยี่ห้อ หรือ ล้อแม็กซ์ จาก โรงงานผลิตล้อแม็ก ที่ได้รับการยอมรับ เช่น ผ่านการรับรองจากสถาบันเกี่ยวกับยานยนต์ หรือ สถาบันของ ล้อแม็ก โดยเฉพาะ ก็ยิ่งดี 



ดูว่าล้อนั้น มีตราหรือสัญญาลักษณ์ รับรองมาตรฐาน เช่น JWL, JWL-T, VIA อยู่ในล้อนั้นด้วยก็จะดี ( แต่ปัจจุบันมีการลอกเลียนแบบและใส่อักษร นั้นไป โดยไม่ได้รับอนุญาต ก็มี  จึงควรดูประกอบกันไป )

ปัญหาของ ล้อแม็ก ที่พบบ่อย

ปัญหาที่พบมาก ล้อแม็ก ได้รับการซ่อมที่ไม่ถูกวิธี  คือลูกค้าต้องการให้ขอบเงา แต่จากความไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ร้านซ่อมแม็ก ได้นำล้อไปกลึงออก
โดยมองเพียงแค่ความสวยงาม   แต่ปัญหาที่ส่งผลกระทบตามมา ก็คือ

-ล้อมีอาการสั่นเกิดขึ้นหลังจากใช้งานไปสักระยะ
-ล้อคด , ดุ้ง ตรง โดยเฉพาะบริเวณขอบล้อที่ถูกกลึงออกไป
-มีขี้เกลือ ( Oxide ) ขึ้น ณ. บริเวณดังกล่าว
-ล้อเกิด การแตกร้าว ( Crack ) หรือ ลมรั่ว ซึมออก ( Leak )



รูปภาพ ล้อแม็ก ที่ถูกแก้ไขอย่างผิดวิธี  


ดังนั้นเราควรศึกษาและพิจารณาเลือกร้านหรือผู้ที่เข้าใจ ก่อนที่จะส่งไปทำ มิฉะนั้นผลที่ตามมาก็ยากแก่การเยียวยา
ควรคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด


ผลที่ตามมาหลังใช้งานไปแล้ว คือ ล้อแม็ก เกิดการแต่ร้าว ดุ้ง ลมรั่ว



รูปล้อเดิมก่อนแก้ไข

ล้อที่ถูกผลิตออกมา ความหนาของล้อ ได้ถูกกำหนดให้เหมาะสมกับในการแบกรับน้ำหนักตามรถนั้นๆ  ซึ่งหากมีการนำไปแก้ไขด้วยการกลึงออก ก็จะทำให้สมรรถนะในการรับน้ำหนักลดลงอย่างแน่นอน
(ค่าความหนาของล้อควรจะอยู่ประมาณ 5 - 7 มม. แล้วแต่รูปทรงที่ออกแบบมา)



90% เราจะพบว่า ล้อแม็ก ที่ถูกซ่อมมา จะถูกกลึงเนื้อล้อตรงบริเวณขอบ ซึ่งผลก็คือ ล้อจะดุ้ง ง่าย และลมรั่วที่ขอบ

ดังนั้นก่อนการนำล้อไปซ่อมเราควรมั่นใจว่าจะไม่นำล้อของเราไปกลึงเนื้อออก



จะดูอย่างไรว่าล้อเรามีปัญหา

ท่านเจ้าของรถ หลายท่านสอบถามเข้ามาว่า ทำอย่างไร?  ถึงจะทราบว่า ล้อแม็ก ที่ใส่อยู่ในรถคันสวยของเรา  ตอนนี้อยู่ในสภาพดีหรือไม่
 การใช้งานมานาน บนสภาพถนน อันหลากหลาย ที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้  ดังนั้น ล้อแม็ก จะอยู่ในสภาพใด หรือ อาจมีปัญหา ได้เช่นกัน




ปัญหาที่มักพบ กับ ล้อแม็ก บ่อยๆ ก็คือ...

ล้อดุ้ง คือ ล้อที่อาจมีสาเหตุมาจากการกระแทก ไม่ว่าจะเป็นหลุม, บ่อ , สันรอยต่อถนน , ยางแตก หรือ กระแทกกับขอบถนนก็ตาม
จนทำให้ล้อแม็กของเราไม่กลม  ซึ่งเราสามารถสังเกตุได้ดังต่อไปนี้ 

ระหว่างการขับขี่ มีอาการสั่น ผิดปกติ หรือไม่ โดยท่านอาจเทียบกับเมื่อตอนแรกที่เริ่มใช้ กับปัจจุบัน ว่ามีความแตกต่างเพียงใด
หากมีหรือไม่อาการดังกล่าว  ก็ขอให้ทำตามหัวข้อถัดไป

ตรวจดูด้วยตาหรือสังเกตุที่ล้อของเรา เช่น มองเห็นล้อดุ้ง เบี้ยว เพราะหากเป็นมาก ก็จะเห็นชัด โดยเฉพาะด้านหน้าล้อ แต่หากเป็นด้านในล้อ 
ก็อาจมองยากสักหน่อย แต่เราอาจต้องก้มเข้าไปดูใต้ท้องรถ หรือ หากมีความรู้เรื่องช่างบ้าง ก็อาจขึ้นแม่แรง ให้สูง จนล้อลอยพ้นจากพื้น
แล้ว ปลดเป็นเกียร์ว่าง และอย่าลืมปลดเบรคมือด้วย (สำหรับล้อหลัง) ต่อจากนั้นให้ทำการหมุนล้อดูด้วยความเร็วปานกลาง แล้วสังเกตุ
ทั้งด้านหน้าและด้านใน ว่า มีอาการแกว่ง , โยน หรือไม่
การตรวจด้วยเครื่องมือ เช่น นำล้อเข้าไป เช็คที่ศูนย์บริการมาตรฐาน ด้วยเครื่อง  เช่น เครื่องถ่วงล้อ ก็จะเห็นว่าล้อของเรานั้นหมุนกลม มากน้อยขนาดไหน
หากเกิดปัญหานี้ ระดับความเร่งด่วนอาจไม่มากแต่ก็ให้รีบ นำล้อเข้าทำการตรวจสอบ หรือ ซ่อมทันที ที่สะดวก



รอยครูด เกิดจาก ล้อแม็กซ์ ของเรากระทบ หรือ ครูดกับขอบถนน ทำให้เนื้อล้อเป็นรอยหรือบางที เนื้อล้อขาดหายไป  อันนี้สามารถดูได้ง่าย
ผลเสียส่วนใหญ่ก็เกี่ยวกับเรื่องของความสวยงาม แต่หากปล่อยไว้นานก็จะทำให้ส่วนที่ชำรุดนั้นเป็นขี้เกลือลามเข้าไปได้
หากเกิดปัญหานี้ ระดับความเร่งด่วนอาจไม่มากแต่ก็ให้รีบ นำล้อเข้าทำการตรวจสอบ หรือ ซ่อมทันที ที่สะดวก
ลมรั่ว  อาการคือ ล้อยาง เก็บลมไม่ค่อยอยู่  การสังเกตุ ง่ายๆ คือ ลมยางอ่อนลง ต้องเติมลมบ่อยกว่าปกติ  ส่วนใหญ่ มักไม่เกิดพร้อมกันทั้ง 4 วง
แต่เจะเกิดเป็นบางวง เท่านั้น  ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้

เกิดลมรั่ว , ซึม ออกที่บริเวณขอบล้อและขอบยาง มีการซ่อมมาแล้ว ถูกกลึงขอบ ทำให้บางเกินไป , มีสิ่งแปลกปลอมตกค้าง ณ จุดนั้น , ขอบยางชำรุด เป็นต้น

ล้อแม็กเกิดการร้าว ทำให้ลมแทรกออกมาตรงจุดที่ร้าวได้
ล้อแม็ก มีการซ่อมรอยแตก มาก่อน จนทำให้ขอบ ณ จุดนั้น ไม่เรียบ มีช่องว่าง หรือ เกิดการ ร้าว ซ้ำซ้อนได้
หากเกิดปัญหานี้ ให้รีบ นำล้อเข้าทำการตรวจสอบ และ ซ่อมทันที

รอยแตก , ร้าว เกิดจากล้อมีการชำรุด อันมีสาเหตุ มาจาก การกระแทกอย่างรุนแรง , สภาพล้อมีการซ่อม และถูกกลึง ทำให้ขอบบาง กว่าปกติ หรือ ล้อที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ต่ำ ( มักพบบ่อยกับล้อที่ลอกเลียนแบบ ) การตรวจสอบให้สังเกตุ

ให้ตรวจดูรอยร้าวด้วยสายตา ที่บริเวณขอบล้อ   ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดทางด้านในมากกว่าด้านนอก
ให้ตรวจดูที่บริเวณ ก้านล้อ ว่าแตกร้าวหรือไม่
ตรวจดูในรู PCD หรือ บริเวณที่ยึดน๊อตล้อ ว่ามีรอยร้าวหรือไม่ ?
หากพบปัญหานี้ ให้รีบ นำล้อเข้าทำการตรวจสอบ และ ซ่อมทันที

 

การยึดล้อแม็กซ์ เข้ากับตัวรถ

การถอด - ใส่ น็อต ยึด ล้อแม็ก กับรถของท่าน
การถอดประกอบล้อแม็กซ์ ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งโดยปกติความแน่น (Tightening) ของการขันน็อต (Nut) หรือสกรู (Bolt)
ควรอยู่ในค่าที่กำหนดดูได้จากตารางด้านล่าง  และรูปแบบการถอดใส่ก็ควรเป็นไปตามรูปที่แสดงไว้ ก็จะเป็นการรักษาสภาพล้อและความปลอดภัยของเราด้วยเช่นกัน





  รูปแสดงการลำดับถอด-ใส่ Bolts และ Nuts




ตารางแสดงแรงที่ใช้ให้เหมาะกับขนาด การขันน็อต หรือ สกรู นั้นๆ



 

น๊อตล้อ แบบใดที่เราควรใช้

น๊อต และ สกรู (Nuts/Bolt)

ในปัจจุบัน เท่าที่ฟังจากเจ้าของรถ หรือ ผู้ใช้รถส่วนใหญ่ มักไม่ทราบว่ารถของเราเองนั้น ควรใส่ น๊อตล้อ ประเภทไหนอยู่ ? ดังนั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ผู้เขียนคิดว่าลองเสียเวลาศึกษา ข้อมูลต่อไปนี้ ก็จะทำให้เราทราบถึง ความถูกต้อง เหมาะสม ของอุปกรณ์ ที่จะทำให้รถที่เราวิ่งอยู่มีความปลอดภัยมากขึ้น

โดยเฉพาะการซื้อหา ล้อแม็กใหม่ เพื่อที่จะนำมาเปลี่ยนกับล้อเดิม ( ติดรถมา) เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบว่า ล้อใหม่ที่จะนำมาใส่นั้น 
บางครั้งตัวน๊อตเดิมก็ไม่สามารถนำกลับมาใช้กับล้อใหม่นั้นได้   ทั้งนี้ต้องเลือกใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม  มิฉะนั้นจะทำให้ความแข็งแรงในการยึดติดระหว่างล้อกับดุมของรถลดลง ,
ซึ่งบางทีอาจก่อให้เกิดอันตราย หรือ เกิดความเสียหายกับ รถยนต์ ของเราได้


ประเภทของ น๊อตล้อ Lug Nuts

1) ชนิด เฉียง (Taper)

ลักษณะของน๊อต (Nuts) หรือ Bolts ถูกออกแบบมากให้มีมุมเฉียงที่ 60 องศา ซึ่งหากล้อถูกเจาะรู PCD มาเป็นลักษณะเฉียง เราก็ต้องใช้น็อตล้อ ให้เป็นแบบเฉียงเช่นเดียวกัน

2) ชนิด กลม (Radius,Ball)

ชนิดนี้ ส่วนใหญ่จะเป็น Bolts ซึ่ง ถูกออกแบบมาให้จุดนั่ง เป็นลักษณะ เป็นทรงกลม ซึ่งหากล้อถูกเจาะรู PCD มาเป็นลักษณะกลม เราก็ต้องใช้น็อตล้อ ให้เป็นแบบทรงกลมเช่นเดียวกัน

3) ชนิดราบ (Flat)

ชนิดนี้ ทั้งน๊อต (Nuts) หรือ (Bolts) จะถูกออกแบบมาให้จุดนั่ง เป็นลักษณะแบบราบ และอาจมีวงแหวนประกอบติดอยู่ด้วย เช่นเดียวกัน หากล้อถูกเจาะรู PCD มาเป็นลักษณะแบบราบ เราก็ต้องใช้น็อตล้อ ให้เป็นแบนราบ เช่นเดียวกัน



 

 



 


ขออบคุณ Asn Broker , http://www.asnbroker.co.th

Tags : ความรู้ล้อ ล้อแม็ก ล้อ แม็ก ขนาดล้อ การเลือกล้อ

view